31 ตุลาคม 2554

Mix / Master ตอนที่ 1

     อันสืบเนื่องมาจากเพลงนี้ รายละเอียดผมได้พูดไปแล้วนะครับ ที่บทความก่อนหน้าในวันนี้ (บทความนี้)เราก็จะมาเริ่มกันเลยครับว่าใน Mix นี้ผมคิดอะไรทำอะไรบ้าง ซึ่งตอนนี้เป็นตอนแรกนะครับ ยังไงก็อย่าลืมติดตามกันไปเรื่อยๆ ผมจะอธิบายแนวคิดผมอย่างหมดเปลือกที่สุดแต่สั้นที่สุดเช่นกันครับ หากใครยังไม่ทราบว่าเพลงไหนไปฟังกันก่อนครับ


     เพลงนี้หลังจากที่ได้ Sorce มาผมฟังแล้วเคาะว่ามันเป็นเป็น Metal แต่ไม่ขนาด Dark ซะทีเดียวผมก็ให้น้ำหนักไปทาง Havey แทนครับซึ่งหนักกว่า Rock มาอีกนิดส์นุงส์ ดังนั้นผมก็ทำการ Import Fire เข้าสู่ Project ของ Logic ดังภาพด้านล่าง


     จากภาพด้านบนจะเห็นว่าเพลงนี้ประกอบไปด้วย Track ทั้งสิ้น 17 Track สิ่งแรกที่ผมอยากพูดถึง หรืออยากให้เห็นกันก็คือ เพลงที่แน่น หนา หรือสมบูรณ์ (ในความคิดผม) ไม่จำเป็นที่จะต้องมี Track ที่มันมากมายครับ บางคนบอก Guitar จะแน่น ก็ Dub มันเยอะๆ แยะๆ มันก็จริงครับ แต่คงไม่ทั้งหมด หากว่าเรามีวิธีคิด วิธีผสมเสียง กับเพลงนี้นั้นมี Part Guitar ที่เป็นริทึ่มหลักแค่สองเส้นเท่านั้นเองครับ

     เอาหล่ะครับทีนี้เรามาดูกันครับว่า Project นี้มีอะไรอย่างไรบ้าง ผมจะอธิบาย Track ทั้งหมดให้ฟังครับ ก่อนอื่นทำความเข้าใจพร้อมกันก่อนครับว่าทั้ง 18 Track นั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และเป็น Track แบบไหนกันบ้าง การเรียง Track ผมจะเรียงให้เรียบร้อยก่อนการผสมเสียง เพื่อนๆจะเรียงอย่างไรก็สุดแท้แต่ครับ แต่ผมเรียงตามนี้เพื่อง่ายต่อการทำงานส่วนตัว ผมขอย่อนะครับ Mono ด้วยตัวอักษร M ส่วน Stereo เป็น S ให้เข้าใจตรงกันตามนี้นะครับ เพื่อความรวดเร็วในการพิมพ์

1.   Signal Gen : สำหรับ Track นี้ผมสร้างไว้เพื่อตรวจสอบสัญญาณ ขาออก และเข้า ไม่ต้องไปสนใจครับ
2.   Vox lead : ร้องหลัก M
3.   Vox lead dub : ร้องเสริม M
4.   Bass : เบส M
5.   Kick : กระเดื่อง M
6.   Snare : สแนร์ M
7.   Snare Electric : กลองสแนร์ไฟฟ้า M
8.   Tom High : ทอม1 M
9.   Tom Mid : ทอม2 M
10. Tom Low : ทอม3 M
11. Over head : โอเวอร์เฮด S
12. Room : รูมกลอง M
13. GT1 : เพาเวอร์คอร์ด 1 M
14. GT2 : เพาเวอร์คอร์ด 2 M
15. GT3 : โซโล่กลาง M
16. GT Effect : ลูก rig S
17. Organ : ออร์แกน S
18. Vox Background : ร้องคอรัส S

     ทั้งหมดนี้คือ Track ที่บันทึกสดหมดทุกชิ้น จุดที่น่าสังเกตุสำหรับเพื่อนๆคือ Room ของกลองเค้าเลือกที่จะบันทึกในแบบ Mono ซึ่งต้องบอกว่ากับกลองชุดนี้ ในเพลงนี้ดีมากเลยครับ ทำให้การผสมเสียงกลองทำให้มี Groove ที่แน่นขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ มาดูชัดๆในรูปด้านล่างครับ 


     สำหรับ Mix / Master ตอนที่ 1 หรือตอนแรกนี้ ผมจะพูดถึงการเริ่มการผสมเสียงตามแนวคิดผมครับ โดยทั่วไปแล้วนั้นหากเราหาข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลใน Internet กว่าร้อยละเยอะๆ (มั่ว) มักคุยกันหรือเสวนากันประมาณว่าเมื่อเริ่มผสมเสียง ก็จะเริ่มที่ส่วนของกลอง หรือส่วนของริทึ่มนั่นเอง

     แต่สำหรับตัวผมแล้วกว่าร้อยละ เก้าสิบเก้า ผมเริ่มต้นกับเส้นร้องก่อนเสมอ อาจมีคำถามว่าทำไรหรือก็เพราะเราฟังเพลงก็ต้องฟังเนื้อหาเพลง ถ้าอยากฟังเนื้อหาเพลงให้ชัด ก็ต้องได้ยินร้องชัด ดังนั้นผมก็จะเอาเส้นร้องให้อยู่เสียก่อน ก่อนที่จะไปทำส่วนอื่นๆตามมา ผมก็เริ่มต้นฟังเส้นร้อง และสิ่งที่ผมได้ยินก็ทำให้ผมตัดสินใจที่จะเลือกใช้เครื่องมือต่างๆเพื่อให้ผมได้ผลของเสียงตามที่ต้องการ โดยใช้ Plugin 3 ตัวด้วยกันดังรูปด้านล่างครับ


     สำหรับ Chain ที่ผมทำงานนั้น Plugin ตัวแรกที่ผมใส่ก็คือ Waves SSL Chanelstrip สำหรับตัวนี้นั้นผมใส่เพื่อต้องการให้ติดคาแร็คเตอร์ของบอร์ด SSL และต้องการใช้ EQ กับ Compress ของ SSL โดยใช้ EQ ตัด Low Cut ที่ 135Hz ลงไปทิ้ง จากนั้น ยก Hi ที่ 4KHz เพื่อเพิ่ม Air เล็กน้อยให้กับร้อง แล้วจึงทำการ Compress ที่อัตราส่วน Ratio 2.3:1 เพื่อคุม Dynamic เล็กน้อย

     จากนั้น Plugin ตัวที่สองที่ผมใส่คือ Waves LA2A เพื่อกดคอมเพลสอีกครั้ง เพื่อให้เกิดอาการ Punch และร้องนิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อผ่าน LA2A แล้วตอนนี้เสียงร้องออกจะคม มีขอบ และ Hi เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย ซึ่งนั้นคือสิ่งที่ผมต้องการ เหตุเพราะย่านต่ำของร้อง ผมมีเส้นร้องที่ Dub กันอยู่ไว้คอยช่วย และเอามา Blend รวมกันในภายหลัง

     เมื่อเราผ่าน LA2A แน่นอนว่าย่านต่ำ หรือ Low ก็จะมีเพิ่มเข้ามาเล็กน้อย ผมก็ใช้ EQ ของที่มากับ Logic นี่แหล่ะครับ ทำการ Cut ออกอีกครั้ง เพราะผมต้องการให้ไม่มี Hum เกิดขึ้น และลด POP เกิดขึ้น รวมถึงต้องการให้ร้อง Clean 

     ส่วนการแพนผมก็ตั้งแพนร้องไว้ตรงกลาง และควบคุม Level ของร้องเพื่อตั้งต้นเป็นเกณฑ์ของเพลงทั้งหมดโดยให้จุดที่ Peak ที่สุดของสัญญาณอยู่ที่ -10 db ตัวสัญญาณจะแกว่งขึ้นลงก็ช่างครับ แต่ช่วงที่แกว่งสูงสุดไม่เกิน -10 db นั่นเองครับ เพื่อเป็นเกณฑ์ให้กับชิ้นดนตรีต่อๆไปว่าจะมีจุดอยู่ตรงไหน ต่ำกว่า หรือสูงกว่าร้องอย่างไร

     โดยปรกติเมื่อสัญญาณเสียงทั้งหมดรวมๆกันสุดท้ายสัญญาณก็จะไปสวิงอยู่แถวๆ -6 หรือ -3 db ซึ่งก็จะเหมาะต่อการนำไปทำมาสเตอร์ในภายหลัง

     เอาหล่ะครับสำหรับวันนี้คงจบก่อนนะครับ ไปทำงานกับหนีน้ำต่อ ไว้มาต่อกันตอนสองนะครับ คงสั้นกว่านี้อันนี้บ่นและ อลัภบทเยอะด้วย ห้าาาา ไปละครับ สวัสดี

6 ความคิดเห็น:

เหล้าย่าง กล่าวว่า...

ดีมากเลยครับ ผมจะเฝ้ารอติดตามตอนต่อไป ขอบคุณครับ

sawfa. osmon กล่าวว่า...

น่าสนใจมากครับ รอตอนต่อไปครับ

Jumpod BLOG กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ ผมจะพยายามเขียนให้สั้นแต่เข้าใจง่ายที่สุด ถ้าติดขัดอะไรก็ทิ้งคำถามของตอนนั้นๆ ไว้ในตอนได้เลยครับ ผมจะเข้ามาตอบครับ

Chiang Mai Jazz Education กล่าวว่า...

อ๊ะ ... ไอเดียไม่เลวนา แต่ดนตรีก็คือดนตรีและเป็น art มิใช่ วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาตร์ การมิกงานน้ำหนักดีแต่ไม่เพราะ alot of dull sound, not crisp, clean and crystal clear สัญญา too hot เหมือนยืนอยู่กลางทะเลทราย ขาดมิติและสไตล์ จะกลับมาคุยด้วยใหม่ครับ

Jumpod BLOG กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆครับ แต่อาจด้วยสไตล์เพลงและรสนิยมที่ต่างกัน เลยทำให้ดนตรีที่ทำแตกต่าง ครับเพราะดนตรีก็คือดนตรีครับ ^^

sadidman กล่าวว่า...

ส่วนตัวผมว่าตอบให้เป็นวิทยาศาสร์ ก็ดีนะคับมันถึงรู้ว่าควรทำควรปรัปแต่งประมานไหนเหมือนกับสูตรปรุงอาหารคับ. ถ้าไม่มีค่าประมานใครจะรู้ว่าต้องใส่อะไรเท่าไหร่ยังไงประมานไหน. พอเข้าใจแล้วเราคือยเพิ่มอะไรหรือลดอะไรตามใจหรือสไตล์ของเราคับ. เป็นกำลังใจให้พี่กุ๋ยคับรอติดตามตลอดคับ