12 ธันวาคม 2552

Mastering the art of science


วันนี้ขอมาพูดเรื่อง Mastering นิดนึงครับ ขอออกตัวก่อนว่าผมก็ไม่ได้เก่งกาจสามารถมากมาย แต่ก็ยังมีหลายคนที่หลงทางในเรื่องการทำ Mastering อยู่พอสมควรทีเดียว เลยเป็นที่มาของคำว่า "มาสเตอร์ริ่ง ศาสตร์ที่เป็นศิลปะ" หรือจะแปลตรงตัวก็ว่ากันไปครับ

เมื่อเราพูดถึงว่า Mastering ควรเน้นเรื่อง Dynamic เพื่อให้ความเป็นดนตรีสูง หรือเราพูดถึงว่าทำไม Mastering สมัยนี้แข่งกันดัง นั่นไม่ได้หมายความว่า ต้อง Master ให้เบาถึงจะถูกต้อง หรือ Master ดังแล้วผิดนะครับ แต่ก็มีหลายคนคิดเช่นนั้น

ความดัง หรือเบา เราไม่มีเกณฑ์ในการตัดสินใจ ทั้งหมดทั้งมวลอยู่ที่ความเหมาะสมเป็นสำคัญ และการนำเสนอในแบบที่ตัวงานต้องการ เช่นเพลงที่เป็นลักษณะ Classic Jazz แน่นอนเพลงลักษณะนี้เน้นความเป็นตัวดนตรี และอารมย์เพลงสูง ฉนั้นการทำ Master คงเน้นที่ Dynamic เป็นสำคัญมากกว่า Loud

ในขณะที่เพลง Rock คงเน้นเรื่อง Loud มากกว่าเพื่อความ มันส์ ความสะใจ แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้หมายความว่าให้ยึดตามนี้นะครับ แต่นี่เป็นเหตุผลหนึ่งๆในการทำงาน ในการตัดสินใจ

แต่วันนี้ที่เราบอกว่างานเพลงแข่งกันดังอย่างไรสติ หรือเหตุผลก็เพราะ ความเข้าใจที่แตกต่าง ในงานต่างประเทศหลายๆตัวที่ดังมากๆ เค้าดังอย่างมีคุณภาพ แต่งานบ้านเราก็มีหลายๆตัวที่ดังอย่างเดียว มันเลยเป็นเหตุผลว่าถ้าดังแล้วดีไม่ได้ ก็เอาดี แต่ไม่ต้องดังยังดีกว่าครับ มีหลายเพลงที่ผมเคยยกตัวอย่าง พอเข้าท่อน Hook ทีแทนที่เพลงจะ Peak มันกลายเป็นว่ารายละเอียดทุกอย่างหายหมด เบสหาย กระเดื่องหาย บางทีกลองหายไปทั้งชุด ฟังไรก็ไม่ชัด

แต่ถ้าคุณทำมันได้ Loud และยังมี Dynamic ได้ดี และทุกอย่างยังอยู่ครบ ในเพลงที่ต้องการความดังผมก็ว่าคุณทำไปเถอะครับ อย่าได้นำเพลงนี้ไปเทียบเพลงนั้น เพราะมันตั้ง หรือมีโจทย์ที่ไม่เหมือนกัน ไม่มีใครบอกคุณได้ว่าเพลงไหน ดี หรือไม่ดี ในการทำ Master คนเดียวที่จะบอกคุณได้ คือ "ผู้ฟัง"

และงานที่สมบูรณ์แบบก็คืองานที่สามารถถ่ายทอดได้ในทุกเครื่องเล่น ออกมาอย่างสมบูรณ์ในทุกย่านความถี่เสียงและสามารถสื่อสาร รวมทั้งทำหน้าที่ถ่ายทอดให้กับผู้ฟังได้อย่างสมบูรณ์ และน่าฟัง ผมว่านี่แหล่ะครับคือศิลปะบนความเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วพบกัน แฮปปี้นิวเมีย แว๊กกกส์

ไม่มีความคิดเห็น: