เมื่อพูดถึงสุดสายท้ายงาน เราก็จะพูดถึงขบวนการทางด้านการทำ Mastering ซึ่งแน่นอนประเด็นหนึ่งในหลายๆข้อที่เราต้องพูดถึงกันเสมอก็คือ Loundness war หรือสงครามความดัง
ทำไมหยิบเรื่องนี้มาคุยกันอีก ก็เพราะว่าผมได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนที่อยู่ในอเมริกา และสอบถามเรื่อง Mastering กับความสำคัญของงาน เพื่อนผมที่อยู่ที่อเมริกาได้บอกว่าที่นี่ให้ความสำคัญกับขบวนการนี้มาก และทุกคนจะพยายามทำให้ไม่ดังโดนเน้น Dynmic range เป็นสำคัญ
ซึ่งยังผิดกับบ้านเราที่ยังขาดความเข้าใจ และพยายามกระโจนเข้าสู่สนามแห่งความดังอยู่เนืองๆ ซึ่งผลที่ได้ ทำให้เพลงขาดความน่าฟัง ขาดความเป็นดนตรี ทุกอย่างเหมือนหน้ากระดาน ถ้าเปรียบผู้หญิงก็แบนหล่ะครับ หาทรวดทรงไม่เจอ
ต้องยอมรับว่าบ้านเรายังขาดความเข้าใจในเรื่องการทำ Mastering อยู่มาก ถึงมากสุด ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าบ้านเราไม่มีคนที่เข้าใจหรือทำไม่เป็น เพียงแต่เทคโนโลยีด้านการทำ Mastering ก็ไม่ต่างไปจากขบวนการอื่นๆที่มีขั้นตอน และการพัฒนาเดินหน้าอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในแต่ละยุคของมันก็มีกรรมวิธีการที่แตกต่างออกไป
ที่น่ากลัวและเลวร้ายที่สุดก็คือ การฟังและเชื่อโดยไม่มีเหตุผลรองรับ ผมไม่ได้บอกคุณต้องฟังเพลงเพื่อหาพระแสงอะไร? เพียงแต่ถ้าคุณฟังเพื่อผ่อนคลาย เพื่อความบันเทิง ฟังไปก็ผ่านไปครับ เอาชิลล์ไว้ก่อน แต่หากคุณฟังเพื่อเรียนรู้ เพื่อศึกษา ก็ต้องแยกแยะ วิเคราะห์ และหาความรู้เพิ่มเติมจากงานที่คุณฟังด้วย งานดีไม่ใช่งานค่ายเสมอไป และงานอินดี้ ไม่ใช่งานด้อยคุณภาพเสมอไป
ทุกงานมีคุณค่าในตัวมันเอง ดังนั้นการฟังงานอย่างมีเหตุผลถือเป็นสิ่งสำคัญ หลายงานในค่ายเป็นงานที่ดี และหลายงานก็แย่ งานอินดี้หรือค่ายอิสระหลายๆงานก็เป็นงานที่แย่ แต่ก็มีหลายงานที่ดีมากๆ ดังนั้นควรเปิดใจให้กว้างฟังอย่างมีสติใช้เหตุและผล รวมถึงอารมย์ในการตัดสินใจ อย่าให้แค่คำว่า "เสียงดัง" เข้ามาเป็นตัวกำหนดคุณภาพของงานอย่างเดียว น่าเบื่อครับ "เสียงดัง ตังค์มา"
ปล. ดังได้นะครับแต่ต้องดีด้วยฝากไว้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น