16 เมษายน 2556

เรื่องที่น่ากลัวในวงการเพลง

   
     สวัสดีครับหายหน้าหายตาไปนานมาก มากเสียจนคิดว่าจะไม่กลับมาที่ Blog ซะแล้ว เหตุเพราะว่ากระแส Facebook ดึงให้ผม และคิดว่าอีกหลายคนก็คงเข้าไปวนเวียนอยู่ในนั้นจนลืมที่อื่นๆขนาดว่า MSN ยังต้องปิดตัวเลย

     "เรื่องน่ากลัวในวงการเพลง" ที่ผมจั่วหัวมาขนาดนี้มันมีสาระขนาดนั้นเหรอ? ใช่ครับ เพราะอะไร? เพราะวันนี้ถ้าเราถามคนที่ฟังเพลงประเภทที่เราเรียกว่า หูทอง ส่วนใหญ่มากๆจะไม่ฟังเพลง หรือเสพเพลงสมัยนี้ และหรือก็อาจจะไม่ฟังเพลงไทยในยุคนี้ และด้วยคำพูดที่ว่า "เพลงไทยไม่น่าฟังเท่าเพลงต่างประเทศ" อืมมม! มั่นน่าคิดครับ

     ส่วนนึงก็จะมีคนทำงานเบื้องหลังออกมาค้านและบอกว่า "พวกนี้ทำงานไม่เป็นเอาแต่ติ ลองมาทำดูซิ" ก็จริงครับ ในฐานะที่ผมเป็นทั้งคนทำและฟัง ผมก็มองว่าจริงครับ แต่! ถ้าคำพูดเหล่านั้นออกมาจากคนที่ตั้งใจทำงาน และมีความรู้ความสามารถอันนี้ก็แล้วไป แต่ส่วนใหญ่คนที่ตั้งใจทำงานมักไม่พูดเช่นนั้นครับ เท่าที่เจอ

     ส่วนมากมักจะเป็นกลุ่มคนที่ทำงานสุกเอาเผากินเสียมากกว่า ซึ่งตลอดเวลาการทำงานของผม ผมมักได้ยินคนทำงานเบื้องหลังหลายคนพูดว่า "มึงจะลงทุนไปทำไมวะ สุดท้ายแม่งก็ฟังแค่ MP3" หรือไม่ก็ "ขอแค่ดัง ตังค์ก็มา" ก็โอเคครับ ถ้าคิดอย่างนี้ แต่พอโดนคนติเรื่องคุณภาพ กลุ่มเหล่านี้ก็จะเถียงคอเป็นเอ็นและรับไม่ได้กับสิ่งที่ได้ทำไว้

     มันเหมือนหาสาระไม่ได้นะครับที่ผมเอื้อนเอ่ย! แต่อันที่จริงแล้วต้องยอมรับว่าถ้าเทียบขนาดของ Brand ของค่ายเพลงคือเอาระดับประเทศ/ระดับประเทศ ต้องยอมรับครับว่างานบ้านเรายังด้อยกว่าเค้ามาก ผมไม่ได้โทษคนทำครับ มันมีปัจจัยและองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งค่าจ้าง เครื่องมือ ความรู้ ฯลฯ ซึ่งองค์ประกอบเมื่อมารวมกัน มันก็ทำให้งานเราอาจมีปัญหาอยู่บ้าง ถึงมาก

     แต่ตัวการใหญ่ที่สุดในการทำลายคุณภาพงานเพลงก็คือ "ความคิด" ความคิดที่ไม่คิดจะพัฒนา ความคิดที่ติดอยู่แค่ผลประกอบการ ทั้งหมดทั้งมวลมันบั่นทอน คุณภาพของงาน แล้วเราจะเรียกร้องหาคุณภาพของงานได้อย่างไร ในเมื่อคนที่มีโอกาสทำงานดีๆ ยังไม่ปรับทัศนะคติทางความคิดในการทำงาน แค่นี้เราก็ด้อยกว่าเค้าเยอะครับ

ไม่มีความคิดเห็น: